สิ่งมีชีวิตตามตำนานต่างๆ ในเมืองไทยนั้น จะว่าไปแล้วก็อยู่ใกล้ตัวเราอย่างไม่น่าเชื่อ เพราะตั้งแต่ยังเด็กแค่เข้าวัดก็จะได้พบเห็นอยู่บ่อยๆ
แต่น้อยคนที่จะรู้จักมากไปกว่าพญานาค
.
เว็บหวยสด อยากเชิญชวนทุกท่านมาลองทำความรู้จักกับเหล่าสัตว์มงคลในตำนานเหล่านี้ ว่ามีประวัติความเป็นมาอย่างไรและมีตัวอะไรอยู่ในวัดบ้าง โดยเฉพาะในทางของวงการเลขเด็ด บอกเลยว่าหากใครอยากได้เลขแม่นๆเอามาเล่นหวยหรือหวยหุ้น สามารถไปขอกับสัตว์มงคลได้เช่นกัน
1. พญานาค
หนึ่งในสิ่งมีชีวิตโบราณที่เราพบเห็นได้ในทุกบันไดวัด พญานาคอาศัยอยู่บริเวณบาดาลใต้เขาหิมพานต์ มีอิทธิฤทธิ์มากมาย จำแลงกายได้ บางชนิดพ่นพิษ พ่นไฟได้ พญานาคมีทั้งหมด 4 ตระกูลหลักๆ แต่คนไทยจะคุ้นเคยกับพญานาคในตระกูลเอราปถ หรือตระกูลสีเขียวมากที่สุด
ในคติความเชื่อของพราหมณ์นั้น นาคหรือพญานาค เป็นผู้ดูแลปกปักรักษาแม่น้ำสีทันดร เป็นแม่น้ำสายใหญ่รอบเขาพระสุเมรุ และยังทำหน้าที่เป็นสะพานสายรุ้งเชื่อมกับโลกมนุษย์และสวรรค์ด้วย ทางด้านพระพุทธศาสนา นาคยังเป็นตัวเเทนของผู้ใฝ่รู้ เป็นตัวเเทนของปราชญ์ พร้อมที่จะเข้าหาพระธรรมคำสอน จึงทำให้พญานาคกลายมาเป็นสัญลักษณ์ที่อยู่บนราวบันไดวัดนั่นเอง
2. มอม
สำหรับตัวมอมนั้นเราจะเห็นตามวัดในแถบภาคเหนือ โดยเฉพาะเชียงใหม่นั้นมีแทบทุกวัด เพราะเป็นสัตว์ตามความเชื่อของชาวล้านนา ลักษณะของตัวมอมนั้นอธิบายยากมาก เพราะเกิดจากสัตว์หลายชนิดผสมกัน ทั้งหมา แมว ตุ๊กแก กิ้งก่า ลิง เสือ ฯลฯ มีแขนยาว และลำตัวยาวยืดคล้ายสัตว์เลื้อยคลาน
ตัวมอมตามความเชื่อถือว่าเป็นสัตว์ของเทพชั้นสูง มีอำนาจ อิทธิฤทธิ์ อวตารลงมาเพื่อช่วยเหลือมนุษย์ ชาวล้านนาจึงนิยมสร้างตั้งไว้ในวัดประดับราวบันได
3. มกร
มกร (มะ-กอน) อีกหนึ่งสัตว์ในตำนานตามความเชื่อของชาวเหนือ พบเห็นได้ตามวัดในแถบภาคเหนือเช่นกัน ลักษณะจะผสมระหว่างจระเข้กับพญานาค มีขายื่นออกมาจากลำตัว และมักจะถูกปั้นให้อยู่มนท่าทางที่กำลัง “คาย” พญานาคออกจากปากด้วย เรียกกันว่า “มกรคายนาค” เฝ้าอยู่ตรงราวบันไดศาสนสถาน
มกรเป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงความอุดมสมบูรณ์ เป็นการอวยพรให้ผู้ที่เข้ามามีความสุข นอกจากนี้ยังมีความเชื่อว่า มกรเป็นสัตว์พาหนะของพระแม่คงคา และพระวรุณ ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งแม่น้ำด้วย ส่วนการที่ช่างปั้นให้คายนาคนั้น เพื่อสื่อความหมายด้านพุทธศาสนา เปรียบมกรเป็นความรัก โลภ โกรธ หลง ส่วนนาคนั้นคือ ตัวเรา แปลความหมายได้ว่า หากตัวเรายังยึดติดกับความลุ่มหลงต่างๆ เราก็เหมือนกับพญานาคที่ถูกมกรยึดติดไว้ ไม่หลุดพ้นจากความทุกข์ หรือปล่อยวางได้
4. เหรา
ตัวเหรา (เห-รา) จะมีลักษณะคล้ายจระเข้ผสมกับพญานาค ซึ่งหลายๆ คนมักเรียกสับสนกับตัว มกร เพราะตัวเหรานั้นเรียกได้ว่าเหมือนนาคมีขา ในขณะที่มกรนั้นด้วยความที่กำลังคายตัวนาคออกมา คนเลยมักมองว่าเป็นนาคที่มีขาเหมือนกัน (ซึ่งจริงๆ ขานั้นเป็นของตัวมกร ไม่ใช่ของนาค) ตัวเหรายังแบ่งออกแยกย่อยเป็นลูกครึ่งได้อีกหลายแบบ ทั้งสุบรรณเหรา (ครึ่งครุฑครึ่งเหรา) สกุณเหรา (ครึ่งนกครึ่งมังกร) หรือ อัสดรเหรา (ครึ่งม้าครึ่งเหรา) เป็นต้น
5. สิงห์
สิงห์ หรือ นรสิงห์ สัตว์ในตำนานที่ทำหน้าที่เป็นทวารบาล เฝ้าหน้าทางเข้า-ออกวัดหรือวิหารต่างๆ
เป็นสัญลักษณ์แห่งอำนาจ และความกล้าหาญ สิงห์นั้นได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะพุกาม ครั้งที่พม่าได้เข้ามาครอบครองดินแดนล้านนา ช่างจะนิยมปั้นเป็นสิงห์ตัวผู้ (สังเกตจากขนสร้อยคอ) อยู่ในท่านั่งด้วยสองเท้าหลัง หางงอขึ้นพาดไว้กลางหลัง ส่วนสองเท้าหน้าตั้งยันพื้น อ้าปากแผดสิงหนาท ขนหัวตั้งชัน
6. กิเลน
เป็นหนึ่งในสี่สัตว์ศักดิ์สิทธิ์ของจีน เป็นสัญลักษณ์ของคุณงามความดี เป็นสิริมงคล ในวัดแถบล้านนานิยมปั้นใช้ประดับร่วมกับสัตว์ป่าหิมพานต์อื่นๆ ช่วยในการกำจัดสิ่งชั่วร้าย และภูตผีปีศาจได้
7. ช้างเอราวัณ
อีกหนึ่งสัตว์มงคลของไทย จะพบได้ในบางวัด และที่สำคัญมักจะต้องสร้างให้มีขนาดใหญ่โตด้วย เพราะตามตำนานแล้วช้างเอราวัณมีขนาดใหญ่มาก มี 33 เศียรแต่ละเศียรรองรับปราสาทของเทพ 33 องค์ (ตามวัดจะปั้นไว้เพียงสามเศียร) นิยมใช้ประดับในส่วนทางเข้าวัด ตามเจดีย์ หรือหน้าวิหาร เพื่อป้องกันสิ่งชั่วร้ายมิให้เข้ามาในศาสนสถาน